วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง
HIGH VOLTAGE ENGINEERIG
HIGH VOLTAGE ENGINEERIG
บทที่ 1
High Voltage and Current
นาย คำปาน แท่นมะณี
สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
1 Genaration of highvoltage and currents
• ไฟฟ้าแรงสูง(high voltage electrical) หมายถึงอะไร
• หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 100 โวลต์(v)หรือ 1 kv ขึ้นไป
• ระดับของไฟฟ้าแรงดันสูงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
• 1. ระดับแรงดันสูง(High voltage,Hv)มีขนาดตั้งแต่ 1 kv ถึง
• 230 kv เหมาะกับการส่งกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 Mw
• 2. ระดับแรงดันสูงมาก(Extra high voltage,EHV)มีขนาดตั้งแต่ 230 kv ถึง 765 kv ใช้ส่งกำลังไม่เกิน 4,000 Mw
• 3. ระดับแรงสูงอุลตร้า(Ultra high voltage, UHV)มีขนาดตั้งแต่
• 765 kv ขึ้นไป ใช้ส่งกำลังตั้งแต่ 4,000 Mw
ทำไมถึงต้องส่งจ่ายด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูง
• สาเหตุที่ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าด้วยระดับแรงดันสูง เนื่องจากการส่งกำลังไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ จะเกิดการสูญเสียในสาย เนื่องจากความต้านทานในสายส่ง และการส่งด้วยระดับแรงดันสูง จะทำให้แรงดันตกในสายลดลง ประสิทธิภาพของสายส่งที่ดีขึ้น และมีความเชื่อถือได้สูง ตามมาตรฐานสากลและใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีการจำแนกระดับแรงดันไว้ 3 ระดับ
ประเภทของการสร้างแรงดันสูง
• 1. แรงดันสูงกระแสสลับ
• (High Voltage Alternating Current, HV Ac)
• 2. แรงดันสูงกระแสตรง
• (High Voltage Direct Current, HVDC)
• 3. แรงดันสูงกระแสอิมพัลส์
• (High Voltage Impulse Current, HVIC)
• 4. แรงดันสูงและความถี่สูง
• (High Voltage and High Frequency, HVHF)
หม้อแปลงแรงดันสูงกระแสสลับมี 2 ชนิด
การสร้างแรงดันสูงกระแสตรง
•
• การสร้างแรงดันสูงกระแสตรง
•
•
•
•
• 1. หม้อแปลงทดสอบ 2 ขดลวด
• ประกอบด้วยขดลวดด้าน HighVolt ที่มี 2 ขั้วและมีขดลวดด้าน LowVolt อีก 2 ขั้ว
• 2. หม้อแปลงทดสอบ 3 ขดลวด
• ประกอบด้านขดลวดด้าน High Volt 3 ที่มี 3 ขั้ว และมี ขดลวดด้าน Low Volt อีก 2 ขั้ว
• 2. Measurement of High Voltage and Currents
•
• การวัดแรงดันสูงและกระแส มีความแตกต่างจากการวัดแรงดันต่ำ โดยคำนึงถึงจุดของการอ่านค่าหรือตัวชี้ค่า(indicators)ต้องอยู่ห่างจากจุดที่ต้องการวัดมากพอที่จะไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้จะต้องอาศัยทีฉนวนที่เหมาะสมในการฉนวนขึ้นอยู่กับขนาดของแรงดัน พร้อมทั้งมีการออกแบบการป้องกันสนามแม่เหล็กรบกวน
• การวัดแรงดันสูงแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้
• 1. การวัดแรงดันสูงกระแสสลับ
• 2. การวัดแรงดันสูงกระแสตรง
• 3. การวัดแรงดันสูงอิมพัลส์
3. Electric field in homogen0us and Heterogenous Meterials
• สนามไฟฟ้าที่กระจายในไดอิเล็คตริค จะทำให้เกิดความเครียดสนามไฟฟ้า ซึ่งมีค่าเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับ
• ชนิดของฉนวนหรือไดอืเล็คตริค
• รูปร่างลักษณะของอิเล็คโทรด
• ค่าคงตัวไดอิเลคตริคหรือเปอมิติวิตี้
• ค่าความคงทนต่อแรงดันไฟฟ้าของฉนวนนั้น จะถูกกำหนดด้วยค่าความเครียดของสนามไฟฟ้า ดังนั้นการฉนวนไฟฟ้าในทางวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูงจึงใช้สนามไฟฟ้าเป็นตัวกำหนดสภาพของฉนวน การออกแบบฉนวนไฟฟ้าแรงสูงคล้ายการออกแบบทางกล
4.Gaseous Discharge Breakdown in Gaseous dielectric
• Gasdischarge
• การดิสชาร์จในก๊าช คือ การแตกตัวไอออนและการปล่อยอิเลคตรอนที่ขั้วอิเล็คโทรด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในสนามไฟฟ้า ทำให้อนุภาคมประจุมีพลังงาน และเคลื่อนที่ระหว่างอิเล็คโทรด
• การดิสชาร์จในก๊าช แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ กระแสไหลแบบประทังตัวเองไม่ได้(Non-Self-Sustrained Discharge)ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่ออะตอมได้รับพลังงานจากภายนอก ถ้านำต้นกำเนิดพลังงานออกกระแสก็จะออกกระแสก็จะหยุด ซึ่งกระแสะก็ยังคงไหลอยู่หรือเรียกว่าเบรกดาวน์นั่นเอง เราสังเกตด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ self-sustrained discharge เราสังเกตเห็นได้
5.Breakdown in solid dielectric
• ฉนวนแข็งในทางวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูงใช้เป็นฉนวนแรงสูง ใช้ยึด รับแรงกลอันเกิดจากน้ำหนักโครงสร้าง หรือแรงกลไดนามิกส์จากกระแสไฟฟ้า เช่น ลูกถ้วยมีหน้าที่ยึดสายไฟ เป็นต้น โดยลักษณะสมบัติที่ต้องการของฉนวนแข็ง คือ ความต้านทานฉนวนแข็งที่ดีต้องมีค่ากระแสไหลผ่านน้อยที่สุด หรือมีค่าความต้านทานสูงมากนั่นเองกระแสที่ไหลผ่านฉนวนแข็งแบ่งออกเป็น 2 ทาง คือไหลผ่านเนื้อฉนวนเนื่องจากมีสภาพนำอยู่บ้าง และไหลตามผิวฉนวนเนื่องจากสิ่งเปอะเปื้อน,ความชื้นที่ผิว มีสภาพนำไฟฟ้า ถ้าความต้านทานของฉนวนมีค่าลดต่ำลง อาจเป็นเพราะอุณหภูมิสูงขึ้น หรือได้รับแรงดันไฟฟ้าสูงมากจะทำไห้เกิดเบรกดาวน์ได้ง่าย
• 6.Breakdown in solid dielectric
• ความคงทนต่อแรงดันไฟฟ้า (dielectric strengh)เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่าฉนวนแข็งทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งมีค่าความแตกต่างกันไปตามชนิดของฉนวนแข็ง
• เปอร์มิวติมิตี้ มีค่าคงตัวไดอิเลคตริค เป็นค่าที่กำหนดความสามารถของการสร้างคาปาซิแดนซ์หรือบอกให้ทราบว่าคาปาซิแดนซ์จะเพิ่มขึ้นกี่เท่าของคาปาซิเตอร์สูญญากาศ เมื่อใส่ไดอิเลคตริคที่มีเปอร์มิวติมิตี้ เข้าไปแทนที่
• แฟคเตอร์ค่าพลังงานสูญเปล่าในไดอิเลคตริค ฉนวนแข็งที่ดีต้องมีค่าแฟคเตอร์พลังงานสูญเปล่าในไดอิเลคตริคต่ำ
• ความคงทนต่อแรงกล ฉนวนแข็ง เช่น ลูกถ้วย อุปกรณ์ยึดโยง
• ความคงทนต่อปฏิกิริยาทางเคมี,ความร้อน ฉนวนแข็งต้องคงทนต่อปฏิกิริยาทางเคมีได้ดี และทนความร้อนได้สูง ถ้ามีความคงทนต่ำฉนวนแข็งจะเกิดเบรกดาวน์ได้
•
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น